เจาะลึก Ableton Live10 (Drum Buss)
สวัสดีทุกท่านครับ วันนี้เรามาอัพเดทกันต่อ กับอุปกรณ์ตัวใหม่ล่าสุดใน Ableton Live10 คราวนี้มาถึงหมวดของ Audio Effect กันบ้าง นั้นก็คือเจ้าตัว Drum Buss ลองจินตนาการเวลาที่เราต้องมิกส์เสียงชุดกลองของเรา แล้วต้องโยนเอฟเฟกมากมายทั้ง Compresser, Overdrive และอื่นๆ คงจะดีไม่ใช้น้อย ถ้าทั้งหมดอยู่ในที่เดียวกัน ที่สำคัญลองจินตนาการถึง Effect ที่สามารถดึงย่าน Sub ให้เสียง กลองของเราหนาขึ้น และสามารถสร้างเสียง Sub ของKick ได้อย่างน่าตกใจ ที่สำคัญยังสามารถเลือกคีย์ให้เสียง Sub ได้อีกด้วย นี้คือไอเดียคร่าวๆของเจ้าตัวนี้ งั้นเราไปชมกันเลยครับ ว่าทำงานอย่างไร
Audio Effect Drum Buss
Drum Buss
Drum Buss คือ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อปรับแต่งเสียงกลองในแบบอนาล็อค ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเนื้อเสียง และดีไซน์ชุดกลองให้มีเอกลักษณ์ หรือเพื่อปรับชุดกลองให้เข้ากับตัวเพลง เรียกว่าครบวงกันเลย รวมทั้งจุดเด่นของมันยังสามารถดึงเอาเสียงย่านต่ำ จากทุกเสียงที่คุณมีอยู่ให้หนาขึ้น และมีย่านซับเบสมากขึ้น รวมถึงการสร้างคาแรกเตอร์เสียงใหม่ๆ ได้อย่างน่าตกใจ โดยการควบคุม Dynamicเสียง ด้วยอุปกรณ์ Compresser และ Transient Shaping ที่มีมาให้ครบถ้วน ผ่านอุปกรณ์ต่างๆบนตัว Drum Buss ดังนี้
Trim & Compresser Panel in Drum Buss
เริ่มตั้งปุ่ม Trim เพื่อปรับลด สัญญาณที่ Input เข้ามา ก่อนที่จะเข้าสู่การปรับแต่งสัญญาณต่อไป และส่งสัญญาณต่อไปที่ปุ่ม Comp เพิ่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน บาล้านเสียงของชุดกลอง ก่อนจะส่งสัญญาณไปที่ฟังชั่น Distortion โดยที่ Compresser จะปรับค่าอัตโนมัติที่เล่น ค่าAttack เร็ว ค่าRelease กลาง และค่าRatio ไว้ปานกลาง รวมทั้งการ Makeup ค่า Gain เช่นกัน
Distortion Panel in Drum Buss
หลังจากนั้น ยังมาพร้อมตัวปรับค่า Distortion เพื่อปรับแต่งคาแรกเตอร์สัญญาณเสียง โดยให้มาถึง 3รูปแบบ คือ
Soft: Wave shaping distortion
Medium: Limiting distortion
Hard: Clipping distortion with bass boost
รวมทั้งปุ่ม Drive สามารถปรับค่าสัญญาณ มากน้อยจาก Input เพื่อส่งไปที่ตัว Distortion อีกด้วย
Frequency Mid-High Panel in Drum Buss
ตัว Drum Buss ยังมาพร้อมอุปกรณ์ปรับแต่ง และเพิ่มความถี่เสียงทั้งช่วง Mid-High เพื่อเพิ่มความชัดเจน อธิเช่น เสียง Snare และ Hihat โดยมีตัวควบคุมต่างๆ ดังนี้
Crunch เพื่อปรับจำนวน sine-shaped distortion เพื่อให้ส่งผลโดยตรงกับย่าน กลางและย่านสูง
Damp คือตัว Low Pass Filter ไว้ตัดย่านความถี่สูงที่ไม่ต้องการออก ซึ่งอาจเกิดจากผ่านตัว Distortion โดยมีช่วงความถี่ในการตัดย่านตั้งแต่ 500Hz-20kHz
Transient สำหรับเน้นและไม่เน้นเสียง ในช่วงย่าน 100Hz โดยถ้าปรับเป็นค่าบวกเพิ่มขึ้น จะเป็นการเพิ่มค่า Attack และเพิ่มค่า Sustain ให้มากขึ้น ซึ้งจะทำให้เสียงรู้สึก Punchy ยิ่งขึ้น แต่ถ้าเป็นค่าลบ จะเป็นการเพิ่ม Attack แต่จะลดค่า Sustain ซึ้งจะทำให้เสียงชุดกลองดูกระชับขึ้น หรือจะรู้สึกว่าหางเสียงของชุดกลองนั้นจะสั้นลงนั้นเอง
Low Frequency Panel in Drum Buss
และที่พลาดไม่ได้เลยคือ จุดขายสุดๆของตัว Drum Buss คืออุปกรณ์ปรับเพิ่มย่านความถี่ต่ำ ซึ่งถือว่าสิ่งนี้คือสวรรค์ของคนที่ชอบเบสหนักๆจริงๆครับ มาดูกันเลยว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง
Boom สำหรับปรับขยาย Low Frequency(ย่านความถี่ต่ำ) ให้เพิ่มขึ้น โดยจะมีปุ่มตัวปรับเลือก
Freq (Frequency) หรือค่าความถี่เสียง ที่ต้องการจะเพิ่มได้ โดยให้ช่วงความถี่ตั้งแต่ 30-90 Hz ที่สำคัญตอนที่เราปรับความถี่ ช่องด้านล้างยังสามารถ บอกคีย์จากความถี่ที่เราเลือกแบบอัตโนมัติ หมายความว่าถ้าเราต้องการจะเพิ่มเสียงซับ เป็นโน้ตไหนคีย์ไหนก็เลือกปรับได้อย่างง่ายๆเลย
และที่สำคัญถ้ากลัวหางเสียงจากย่านเบสที่ขยายมา มันจะยาวเกินไป ตัว Drum Buss เลยติดตัว
Decay มาไว้สำหรับปรับเสียงสั้นยาวกันได้เลย และยังมีโหมด
Cue Headphone ให้เราเลือกฟังเฉพาะเสียงย่านที่เราขยายเท่านั้นมาให้ด้วย
โดยสรุปตัว Drum Buss นั้นดีไซน์มาเพื่อจัดการชุดกลองโดยเฉพาะ แต่เราก็สามารถนำไปใช้ในการดีไซน์เสียงกับอุปกรณ์อื่นๆได้เช่นกันครับ สำหรับผมตัวนี้ถือว่า ช่วยเรื่องการมิกส์และการดีไซน์น้ำหนักของเสียง และคาแรกเตอร์เสียงต่างๆ ได้อย่างชัดเจนจริงๆครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ สำหรับในครั้งต่อไป เราจะมาลุยกับ Audio Effect ตัวใหม่อื่นๆที่เหลือกันครับ บอกได้คำเดียวว่าห้ามพลาด ยังไงถ้าซอฟแวร์เปิดให้อัพเดท อย่าลืมเอาข้อมูลที่นำมาฝากกันไว้ ไปใช้งาน เพื่อเพิ่มความชัดเจน และความสนุกสนานกันนะครับ ไว้พบกันใหม่คราวหน้าครับ
8/12/2017
Tossawat Chotivong
Ableton Certified Trainer