top of page

เทคนิคเปลี่ยนห้องพักในคอนโด ให้เป็นสตูดิโอทำเพลงอย่างง่าย

สวัสดีครับวันนี้เรามีโอกาสตามอาจารย์นับ ไปเซ็ตอัพมุมทำเพลงให้กับลูกค้าของเราครับ ซึ่งเป็นคุณหมอ ผู้เชี่ยวชาญโรคตาโดยเฉพาะ คุณหมอกำลังสนใจการทำเพลงเพื่อไปประกอบการรักษา ในเรื่องของ Binaural Beats ที่ให้คนไข้ได้ฟังขณะทำการผ่าตัด เพื่อช่วยในเรื่องของชีพจรความดันและความกังวลที่เกิดจากการผ่าตัดครับ อาจารย์นับเลยไม่รอช้าขอบุกไปติดตั้งให้ที่ห้องพักของคุณหมอเลย ไปชมกันครับ

มาถึงก็จัดแจงตรวจสอบห้อง และหามุมที่เหมาะสมในการเซ็ตอัพ เนื่องจากห้องของคุณหมอเป็นห้องริมสุดของตึกและมีลักษณะเป็นห้องสตูดิโอ จึงเลือกจุดที่ลำโพงหันออกหน้าต่างเพื่อเสียงจะได้ไม่ไปรบกวนห้องข้างๆมากครับ โดยลำโพงที่เลือกใช้จะเป็นยี่ห้อ Focal รุ่น Alpha 65 โดยทางอินเอียบีทช็อป พึ่งได้รับโอกาสเป็นตัวแทนในการจัดจำหน่ายด้วยครับ โดยที่เลือกรุ่นนี้เพราะตัวขับลมจะอยู่ด้านหน้าลำโพงเลยครับ จึงไม่ต้องกังวลปัญหาของเสียงที่เกิดจากการกระแทกกลับจากด้านหลังลำโพงด้วย

ต่อไปก็จัดเตรียมอุปกรณ์พร้อมติดตั้งกันเลย สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือปลั๊กไฟอย่างดีที่ป้องกันไฟกระชาก โดยบางรุ่นยังสามารถกรองไฟเพื่อลดเสียงรบกวนหรือ Noise ที่เกิดจากกระแสไฟอีกด้วยครับ สำหรับรุ่นที่เลือกมาก็มีระบบกรองไฟและป้องกันไฟกระชากครับ จริงๆทุกท่านสามารถหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปเลย ถ้าให้ดีก่อนมาเสียบปลั๊ก ควรผ่านเจ้าตัว UPS หรือตัวเลี้ยงไฟเมื่อไฟดับที่เรารู้จักนี้แหละครับ แค่มีสองตัวนี้ปัญหาเรื่อง Noise เวลาเราอัดเสียงหรือเสียง Noise ที่ออกมาจากลำโพงจะทุเลาลงไปเยอะเลยครับ สำหรับท่านที่ไม่เคยใช้ UPS ก็แนะนำกันไว้เลยครับ ว่าเมื่อซื้อมาเราไม่ต้องไปถอดปลั๊กหรือปิดเครื่อง ให้เปิดไว้ตลอดไปเลยครับไม่ต้องถอดปลั๊ก ถ้าจะถอดหรือปิดเครื่องให้เป็นกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายเท่าที่จำเป็นครับ ไม่งั้นเครื่องอายุการใช้งานสั้นแน่นอนครับ

ประกอบและติดตั้งขาตั้งกันก่อนเลยครับ อย่าลืมติดตัวหมุดด้านฐานหรือ Tiptoes ที่แถมมากับขาตั้งด้วยนะครับ ค่อยๆปรับจนระดับของขาตั้งเท่ากันทุกด้านของฐาน รวมถึงระดับความสูงของขาตั้งทั้งสองอันให้เท่ากันด้วยครับ

ต่อไปวัดระดับของใบหูของคุณหมอ โดยเราจะใช้ระดับความสูงนี้เป็นตัวตั้งความสูงของลำโพง และสำหรับวางเครื่องทดสอบความดังครับ (SPL METER)

ต่อไปก็จัดแจงนำระดับความสูงที่ได้มาตั้งตัวลำโพง โดยให้อยู่กึ่งกลางของตัวดอกลำโพงครับ และหาจุด Sweet Spot ของจุดในการนั่งทำงาน โดยวัดความยาวของจุดกึ่งกลางของลำโพงด้านใดด้านหนึ่งแล้วลากไปหากลางดอกของอีกฝั่งนึงครับ แล้วนำความยาวที่ได้วัดจากกลางดอกฝั่งใดฝั่งนึง ไปที่ใบหูฝั่งเดียวกันให้พอดีกลางหูครับ คราวนี้ก็ล็อคขาลำโพงไม่ให้ขยับเลย แล้วอาจจะนำเทปมาแปะที่พื้นเพื่อมาร์คจุดการนั่งของเราก็ได้ครับ

ติดตั้ง Audio Interface หรืออุปกรณ์ประมวลผลเสียงแทนคอมพิวเตอร์ ตัวที่คุณหมอเลือกใช้จะเป็น Presonus รุ่น 4i4VSL ครับ เพราะคุณหมอตั้งใจจะเชื่อต่อกับ Yamaha คีย์บอร์ดเพื่อส่งค่ามิดี้ควบคุมและใช้เสียงจากฮาร์ดแวร์ด้วยครับ จึงต้องเผื่อ 2ไลน์อิน สำหรับคีย์บอร์ด และอีกสองไลน์สำหรับเครื่องดนตรีและ Microphone ครับ โดยการทำงานของอินเทอร์เฟสนั้นคือการแปลงสัญญาณ เช่นในกรณีอัดเสียง


การส่งสัญญาณเมื่อบันทึกเสียง

Instrument >>> Input >>> Analog Signal >>> Audio Interface >>>

Digital Signal >>> Computer >>> Digital Signal >>>

Audio Interface >>> Analog Signal >>> Speaker >>> Ear

ส่วนกรณีไม่ได้อัดเสียงจะเป็นดังนี้ครับ คือเล่นจากซอฟแวร์ประมวลผลผ่าน Audio Interface แล้วมาออกลำโพงครับ ในกรณี Export แปลงเป็น Wave File ความละเอียดสูง ก็ใช้เจ้า Audio Interface นี่แหละเป็นตัวแปลงและประมวลผลให้เที่ยงตรงเสียงจริงๆ โดยจะเป็นประมาณนี้ครับ

การส่งสัญญาณเมื่อ Playback

Computer >>> Digital Signal >>>Audio Interface >>> Analog Signal >>> Speaker >>> Ear

เพราะฉะนั้นเจ้าตัว interface สำคัญอย่างยิ่งยวดครับ และไม่ใช่ว่าค่าความละเอียดเสียงจะเท่ากัน แล้วตัวราคาแพงกับตัวราคาถูกจะเท่ากันนะครับ คือตัวเลขต่างๆแค่เป็นค่าที่เครื่องซัพพอร์ต แต่จะเที่ยงตรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของตัว Converter ของแต่ละยี่ห้อครับ ยิ่งถ้าใครต้องอัดเสียงนี้ต้องเช็คดีๆครับ

ขั้นตอนต่อไปก็ได้เวลา Calibrate Monitor กันก่อนเลยโดยลำโพงที่คุณหมอเลือกใช้คือยี่ห้อ Focal รุ่น Alpha 65 ครับ โดยอย่างแรกต้องตั้ง Refferent Monitor ของลำโพงกันก่อนครับ เพื่อให้เหมาะสมกับแนวเพลงที่เราจำทำครับ ไว้เรื่องนี้มาอธิบายให้ฟังอกทีนะครับ หลังจากนั้นก็วัดสัญญาณเสียงความดังทีละข้างโดยใช้ Pink Noise โดยเปิดเช็คระดับทีละข้าง ให้ได้ 83 DB ครับ โดยค่อยๆหมุน ปุ่ม Volume บนตัวเครื่องให้ได้ระดับความดังครับ จากนั้น ก็หาเทปกาวสี มาตัดเป็นเส้น แล้วมาร์คจุดของ Volume บนตัวเครื่องไว้เลย

ติดตั้งเรียบร้อยครับ เนื่องจากตัวห้องเป็นห้องพักชั่วคราวจึงไม่ได้ติดตั้ง ตัว Acoustic Foam หรือโฟมซับเสียงตามจุดต่างของตัวห้องครับ ไว้คราวหน้าจะนำเสนอการติดตั้งแผ่น โฟมอย่างง่ายเพื่อมซับเสียงสะท้อนที่เกิดจากห้องให้ชมนะครับ

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับไว้คราวหน้าเราจะไปติดตั้งที่ไหนกันอีก เดี๋ยวนำภาพมาฝากให้ชมกันอีกครับ วันนี้ลาไปก่อน สวัสดีครับ

บทความโดย

อาจารย์นับ อินเอียบีท

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page