top of page

เทคนิคเปลี่ยน 'ห้องขนาดเล็กในบ้าน' ให้กลายเป็นสตูดิโอทำเพลง!!

วันนี้ทีมแอดมิน ขอตามอาจารย์นับ..บุกไปเซอร์วิสพิเศษ ถึงบ้านน้องๆโปรดิวเซอร์มือใหม่ ที่ต้องการเซทอัพ สตูดิโอในห้องนอนและห้องนั่งเล่น!! โดยงานนี้อาจารย์นับจัดแบบครบเครื่องจริงๆ ทั้งการติดตั้งจัดว่างตำแหน่งของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ พร้อมสาธิตขั้นตอนการคาลิเบรทเสียงแบบมาตราฐาน อีกทั้งแนะนำเทคนิคต่างๆที่จะดึงประสิทธิภาพของสตูดิโอขนาดเล็กให้ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่..ใครอยากรู้ขั้นตอนต่างๆ วันนี้เราตามไปดูกันครับ!!

สวัสดีครับ ผมอาจารย์นับอินเอียบีทครับ วันนี้มาบ้านน้องทิมมี่ เพื่อติดตั้งชุด เบสิคสตูดิโอทำเพลง โดยโจทย์คือ ห้องที่ติดตั้งจะเป็นห้องคอมพิวเตอร์ของที่บ้านครับ แต่ลักษณะของห้องคือ จะมีมุมทึบแค่ฝั่งเดียวเท่านั้นที่เหลือจะเป็นกระจกสองสองด้าน และด้านหลังเป็นแค่ฉากกั้นห้อง(ตัดกับผนังเบา)

เมื่อประเมินจากลักษณะห้องโดยรวมแล้ว เรามาเริ่มที่การกำหนดตำแหน่งของ อุปกรณ์ต่างๆก่อนครับ เนื่องจากการทำงานของโปรดิวเซอร์นั้น เวลานั่งทำงานต้องใช้เวลาอยู่กับมันนานพอสมควร ผมเลยวางชุดหันหน้าไปทางหน้าต่างฝั่งสวนของบ้าน และเนื่องจากมีม่านพอดี เราเลยประยุกต์ให้ สำหรับช่วยซับเสียงสะท้อนจากช่องลมของลำโพงที่ออกมาทางด้านหลัง ได้อีกด้วยครับ

พอกำหนดตำแหน่งของลำโพง และจุดที่จะนั่งทำงานแล้ว เราก็เริ่มจัดแจงอุปกรณ์ก่อนเลย อย่างแรกที่ขาดไม่ได้ในการติดตั้งลำโพงคือ ขาตั้งลำโพงที่สามารถ 'ปรับระดับ' ได้ครับ โดยตัวที่ใช้ในภาพคือ On Stage Stand โดยรุ่นนี้จะมีความแข็งแรงและมีระดับความสูงให้เลือกหลายระดับ..ตั้งแต่นั่งเล่น จนถึงยืนเล่นกันเลย

ใต้ฐานขาตั้ง จะแถมเจ้าตัว Tip-Toes (ทิปโทรองลำโพง) ที่เป็นเหมือนหมุดแหลม ให้ติดไว้ใต้ฐานในแต่ละมุม เพื่อให้ขาตั้งมีการส่งแรงสั่นสะเทือนลงไปที่พื้นให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนจากลำโพงลงมาที่พื้นให้มากที่สุด

เลือกใช้ลำโพงที่ได้คุณภาพ และให้เสียงที่ชัดเจนไม่มีการปรับแต่งเสียงใดๆ หรือที่เราเรียกว่า Studio Monitor นี่แหละครับ ตามภาพจะเป็น ยี่ห้อ Fluid Audio รุ่น C5 ครับ โดยรุ่นนี้ตัวช่องขับลมจะอยู่ทางด้านหลัง เราเลยติดตั้งลำโพงในจุดที่ด้านหลังห้องมีม่าน เพื่อซับแรงกระแทกจากเสียงที่เกิดขึ้นจากช่องขับลมนี้ครับ

ติดตั้งตัวลำโพงกับส่วนขาตั้งที่เตรียมไว้ก่อนหน้าครับ

วัดระดับขาตั้งให้ห่างจากผนังและโต๊ะ ของทั้งสองฝั่งให้เท่ากัน

วัดระดับหูของผู้ฟังโดยเราจะใช้ความสูงจากพื้นถึงระดับกลางหูเพื่อไปตั้งความสูง

ของขาตั้งลำโพงต่อไปครับ

ปรับระดับขาตั้งลำโพงโดยให้กลางดอกลำโพงตรงกับระดับความสูง ที่วัดจากระดับหูมาเมื่อสักครู่นี้ครับ

วัดความยาวจากกลางดอกของลำโพงฝั่งซ้ายไปฝั่งขวา หรือขวาไปซ้าย แล้วใช้ระยะนั้นวัดจากกลางดอกฝั่งขวาหรือซ้าย แล้ววัดมาถึงที่กลางหูในฝั่งเดียวกัน โดยเราเลื่อนที่นั่งให้พอดีกับระยะที่วัดได้ ถ้าโต๊ะทำงานห่างไป ก็ขยับโต๊ะได้เลยครับ แต่ในกรณีห้องของน้องทิมมี่ ด้านหลังถอยไม่ได้แล้ว ผมก็ใช้การเลื่อนขาลำโพงช่วยนิดหน่อยครับ

ติดตั้ง Audio Interface (ตัวประมวลผลเสียงแทนคอมพิวเตอร์) เสียงจะดีไม่ดีขึ้นอยู่กับตัว Convert สัญญาณของตัวเครื่อง ไว้จะเขียนบทความโดยละเอียดมาฝากกันนะ ส่วนเจ้าตัวในรูปที่ติดตั้งให้น้องทิมมี่คือ Presonus รุ่น IOne ครับ เป็น 2 Input 2 Output ครับ

ติดตั้งและเซ็ตอัพ อุปกรณ์ คีย์บอร์ดคอนโทรเลอร์ให้ด้วย ส่วนในรูปคือ Akai MPK Mini2 รุ่นสุดฮิต จิ๋วแต่แจ๋วมากๆ เพราะมีครบทุกฟังชั่นเลย แถมซินธิไซเซอร์มาสองตัวด้วย

ต่อไปเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ คือการจัดระดับเสียงความดังของลำโพงและซอฟแวร์ ให้พอดีกับแนวเพลงที่เราจะทำ และฟังให้ได้มาตรฐาน และได้เสียงที่ชัดเจนและทำเพลงได้สบายที่สุดครับ หรือเราเรียกกันสั่นๆว่าการ Calibrate Monitor นั้นเอง โดยผมใช้ตัววัดระดับเสียง หรือ SPL Meter มาใช้ในการวัดค่าครับ จริงๆลองหาแอพในโทรศัพท์มาใช้แทนก่อนได้ พิมพ์หาว่า SPL Meter ได้เลยครับ

ไหนๆก็เอาเครื่องมาแล้ว เลยเซ็ตอัพตัวแอพให้พอดีกับเครื่องจริงซะเลย เพราะการรับสัญญาณของไมโครโฟนบนโทรศัพท์นั้นไม่เท่ากันกับเครื่องเลยปรับให้ตรงกันซะเลยครับ เผื่อน้องอยากจะเปลี่ยนมุมทำงาน จะได้เซ็ตอัพได้เองเลย

เมื่อวัดค่าจนได้ระดับมาตรฐานแล้ว ก็เอาเทปกาวสี มาแปะมาร์กจุดไว้ที่ตัว ปุ่มวอลลุ่มซะเลย ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนค่าความดังอื่น จะได้กลับมาที่เดิมที่เซ็ตอัพไว้ได้ครับ

ทีนี้ก็ให้น้องทิมมี่ เจ้าของสตูดิโอทำเพลงใหม่คนนี้ ทดลองฟังกันดูเลย

พอดีมีเวลาเหลือก็เลยแนะนำการใช้งานซอฟแวร์ Ableton Live9 ซะหน่อย พร้อมติดตั้งตัวซอฟแวร์ซินธิไซเซอร์ที่แถมมากับคีย์บอร์ดให้ด้วยครับ

ชุดสตูดิโอติดตั้งเรียบร้อยพร้อมทำงานครับ แต่จริงๆห้องนี้มีลักษณะแคบครับ เสียงเบสอาจจะล้นไปซักหน่อย ถ้าให้แนะนำเพิ่มก็อยากให้น้องทิมมี่ลองติดเจ้าตัว แผ่นซับเสียง หรือพวก Acoustic Foam มาติดเพิ่มที่มุมห้องทั้งสองฝั่ง และทั้งด้านซ้ายขวาระหว่างลำโพงถึงตัวเราครับ สำหรับผนังที่เป็นฉากกั้น หรือผนังเบา ก็ทำเป็นม่านหนามากันไว้ได้ครับ แต่โดยรวมวันนี้ ทำสตูดิโอในงบประมาณที่จำกัดเพียงเท่านี้ ก็ถือว่าได้สุดยอดสตูดิโอทำเพลง สำหรับผลิตผลงานในฐานะโปรดิวเซอร์ แล้วครับ

ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยก็ขอถ่ายรูปกับเจ้าของห้องคนใหม่ซะหน่อย ไว้รอจะรอฟังผลงานนะครับ สำหรับคราวหน้าเราจะไปที่ไหนกันอีก ฝากติตตามได้เลยครับกับผมอาจารย์นับอินเอียบีทครับ

-- บทความโดยอาจารย์ นับ อินเอียบีท --

ถ้าเพื่อนๆโปรดิวเซอร์คนไหนอยากลอง บิวท์สตูดิโอทำเพลงของตัวเองดู ทางอินเอียบีทมี สปีกเกอร์โฟนและอุปกรณ์สตูดิโอ ที่เลือกสรรมาสำหรับคนทำเพลงโดยเฉพาะ ลองเข้าไปเยี่ยมชมกันได้ครับที่ Inearbeat Shop และถ้าใครอยากสอบถามเรื่องขั้นตอนการติดตั้ง หรือวิธีใช้อุปกรณ์ต่าง ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และปลั๊กอินเสริมโทรมาปรึกษาได้ที่เบอร์ 095-950-7590 เลยครับ วันนี้แอดมินและอาจารย์นับขอลาไปก่อนครับ

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page