เผยเบื้องหลัง ‘เสียงร้องสไตล์หุ่นยนต์’ ของเหล่าศิลปินคนดัง!!
“You have the right to remain silent.” ประโยคเท่ๆ ของหุ่นยนต์ตำรวจนาม ‘โรโบคอบ’ (ปี1987) คือ ‘เสียงหุ่นยนต์’ ตัวแรกในความทรงจำของผม..ย้อนไปช่วงนั้นก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ทำไมหุ่นยนต์ทุกตัว ต้องพูดด้วยเสียงแบบเดียวกัน(ยกเว้น R2D2 ที่พูดไม่เป็นภาษานะครับ)..แต่ด้วยรูปแบบการพูดที่ฝรั่งเรียกว่า ‘Robotic Voice’ นี่เอง..มันได้ถูกมานำมาใช้ในวงการดนตรี เพื่อพรีเซ็นต์ถึงความเป็นโลกอนาคต..อย่างที่เห็นตั้งแต่วงรุ่นปู่อย่าง Kraftwerk(ครัฟท์แวร์ค) จนมาถึง Daft Punk (ดาฟท์พังก์)..วันนี้เราไปขุดคุ้ยที่มา พร้อมค้นหาว่า..เทคนิคใด ที่พวกเขาทำให้เกิดเสียงร้อง ‘สไตล์หุ่นยนต์’ ที่ว่านี้กัน
(Photo From Nme.com)
กำเนิดแนวคิดเรื่องหุ่นยนต์ (Photo From Studinano.com)
‘โรโบติกส์’ คือสาขาที่ว่าด้วยเรื่องของหุ่นยนต์ ทั้งงานวิศวกรรม ด้านจักรกล ด้านไฟฟ้า ด้านระบบเทคโนโลยี และการเขียนงานโปรแกรม ทุกขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการผลิตหุ่นยนต์นั้นเอง โดยเริ่มๆ มาจากแค่แนวคิดของการพยายามจะสร้างเครื่องจักร มาแทนแรงงานมนุษย์ ในวงการอุตสหกรรมการผลิต จนเริ่มมาต่อยอดเป็นหุ่นยนต์ที่หลากหลายมากขึ้น และมาลงท้ายด้วยหุ่นยนต์ ที่ถอดแนวคิดของธรรมชาติ เช่นการเลียนแบบสัตว์ต่างๆ และไปถึงการ ‘เลียนแบบมนุษย์’
ว่าด้วยการ ‘สังเคราะห์เสียงมนุษย์’ (Photo From Nydailynews.com)
การจะเลียนเสียงของมนุษย์นั้นทำได้ยากมากครับ ซึ่งนอกจากลักษณะเสียงที่ต่างกันของแต่ละคนแล้ว เรายังมีการใช้ ‘น้ำเสียง’ และ ‘ระดับของเสียง’ ในการสื่อความหมาย..ซึ่งหุ่นยนต์ยังไม่สามารถทำเสียงเหล่านั้นได้อย่างสมบูรณ์ เราจึงได้ยินเสียงของหุ่นยนต์ เป็นจังหวะที่ ‘เย็นและเรียบ’ นั่นเอง!!
วิทยาการที่ว่าด้วยเรื่องของการสังเคราะห์ขึ้นนั้นเรียกว่า ‘การสังเคราะห์เสียงพูด’ (Speech Synthesis) โดยจะผ่านทั้งการสังเคราะห์เสียงจากซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ หรือจากฮาร์ดแวร์ ที่เรียกว่า ‘ซินธิไซเซอร์’ พูดง่ายคือการแปลงข้อความอักษร(Text) ไปสู่เสียงที่สังเคราะห์ออกมาเป็นคำพูดครับ ยกตัวอย่างเช่นนักฟิสิกส์เอกของโลก ที่ถูกเทียบชั้นกับไอน์สไตน์อย่าง สตีเฟน ฮอว์คิง ก็จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีนี้ในการสังเคราะห์เสียงแทนการพูด เนื่องเพราะอาการอัมพาตทั้งร่างนั่นเองครับ (Photo of Stephen Hawking From Static.Guim.co.uk)
โรโบติก วอยซ์ เอฟเฟค
การพูดแบบหวนๆ สไตล์ผสมคำ บวกกับเสียงเย็นๆเรียบๆ จึงเป็นที่มาของการล้อเลียนเสียงหุ่นยนต์ในยุคต้นครับ จากนั้น ก็เริ่มนำเสียงแนวนี้มาปรับแต่ง และใส่เป็นเสียงร้องแบบ ‘โรโบติก วอยส์’ สำหรับวงดนตรีนั่นเอง..แถมวิธีการก็ยังหลากหลายด้วยครับ เราลองไปดูกันว่ามีวิธีใดบ้าง
1. โวโคดเดอร์(Vocoder) Photo From Musicme.com
รู้หรือไม่? สิ่งประดิษฐ์ช้ินนี้เกิดมาครั้งแรกเพื่อ แปลงรหัสเสียง สำหรับระบบทางโทรคมนาคมฮะ(ยุคนั้นก็พวกวิทยุกระจายเสียงละครับ) เนื่องด้วยการส่งแต่ละครั้งเราต้องมีอุปกรณ์ ‘เข้ารหัสสัญญาณเสียง’(Encoder)ก่อน เพื่อประหยัดแบนด์วิธในการส่งแต่ละครั้ง...โดยเจ้านี่จะทำการคัดเฉพาะค่าแอมพิจูดเท่านั้นมาผสมกับคลื่นพาหะ...ซึ่งวิธีแบบนี้ เลยทำให้บางเสียงหายไปครับ..เราจึงได้เสียงแบบ ‘ซอย’ มาเป็นท่อนๆนั่นเอง
แล้วไอ้เสียงแบบ ท่อนๆเนี่ยล่ะ เฮีย Robert Moog และ Wendy Carlos จึงนำมาสร้างเป็นเครื่องโวโคดเดอร์ สำหรับดนตรีอิเล็กทรอนิกส์มิวสิค ในยุค 70ครับ โดยเริ่มจากการเป็น ซาวด์แทรคของหนังขาว-ดำเรื่อง ‘A Clockwork Orange’ ของผู้กำกับ Stanley Kubrick ครับ จากนั้นในวงการเพลงก็เริ่มมีคนนำเพลงคลาสิกมาผ่าน Moog Vocoder และก็มาโด่งดังอย่างสุดๆโดยวง Kraftwerk และก็ตามมาอีกมากครับ อาธิ Pink Floyd.. Jean Michel Jarre และ Mike Oldfield ครับ (Photo Of Jean Michel Jarre From yaplakal.com)
2. ทอล์กบ็อกซ์(Talk Box) Photo From Talkboxterror.Bandcamp.com
มันคืออุปกรณ์ สร้างเสียงหุ่นยนต์ ที่มาในรูปแบบของ ‘เอฟเฟคกีต้าร์’ พร้อม ‘ท่อพลาสติก’ แบบต่อตรงเข้าปากนั่นเอง!! แม้น่าตาจะดูประหลาดอยู่บ้างแต่เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ถือว่า โด่งดังระดับตัวพ่อของวงการ ‘โรโบติก วอยซ์’เลยทีเดียว โดย ‘ทอล์กบ็อกซ์’ ตัวนี้ถูกคิดค้นโดย Doug Forbes ครับวิธีการคือ เสียงจากการร้องของเราจะถูกส่งผ่านท่อที่ว่าไปยังเอฟเฟก แล้วออกไมโครโฟนอีกที แล้วเสียงที่ได้จะเป็นสไตล์ อิเล็กทรอนิกส์จ๋าเลยล่ะ ตัวอย่างที่เห็นเด่นๆ ในช่วงต้นก็จะมี ‘สนูป ด็อกก์’เพลง "Sensual Seduction" นอกจากนี้ยังมี "California Love" ของ ทูพัค ชาเคอร์ ครับ
เพลง Sensual Seduction ของ Snoop Dogg อยู่ในอัลบั้ม Ego Trippin' สตูดิโออัลบั้มชุดที่9 ของเขา เพลงนี้ใช้ Talk Box ในการร้องแร็พครับ
3. ออโต้จูน(Pitch Correction) Photo From I.Guim.co.uk
ที่มาที่ไปของการใส่เอฟเฟค สไตล์ ‘ออโต้จูน’ นั้นค่อนข้างน่าสนใจทีเดียวครับ เพราะความตั้งใจเดิมของ ‘ออโต้-จูน’ นั้น..ทำมาเพื่อ เป็นปลั๊กอินสำหรับ ปรับเสียงคีย์ที่ ‘เพี้ยน’ ให้ตรงกับคีย์และสเกลที่ตั้งไว้นั่นเอง แต่บังเอิญที่ว่า ถ้าเราเปลี่ยนคีย์เสียงให้ ‘ตรงเป๊ะ’ ผลลัพท์กลับออกมาแหวกแนวยิ่งกว่า เพราะการปรับระดับเสียง(Pitch)ที่ว่าจะมีลักษณะ ‘แปร่ง’หูครับ..เลยทำให้มีเสียงเหมือนหุ่นยนต์สมัยใหม่ แล้วกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในเพลงป็อปสมัยใหม่ซะงั้น!! เอฟเฟคได้รับความนิยมในช่วงที่ ‘ป้าแชร์’(Cher) เชอริลีน ซาร์กิเซียน นำมาใช้กับเพลง ‘Believe’ จนถึงขนาดขนานนามว่า ‘Cher Effect’ กันเลยทีเดียว จากนั้นก็ได้รับความนิยมในสายของฮิพฮอป ทั้ง ที-เพน (T-Pain) และ คานเย เวสต์(Kanye West) และวงการดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ อย่าง Daft Punk (วงนี้ใช้ทั้ง ทอล์กบ็อกซ์และโวโคดเดอร์ด้วย)
4. ริงมอดูเลเตอร์ (Ring Modulator) Photo From Artleo.com
สำหรับเอฟเฟคนี่ จะไม่ค่อยไปได้ดีกับซาวด์ในส่วนของเมโลดี้ดนตรีสักเท่าไหร่ครับ แต่ถ้าจะเอามาใช้สำหรับ ‘เสียงหุ่นยนต์’ ก็พอได้ครับ มีการนำมาใช้ทำเสียงเหล่าหุ่นยนต์ตัวร้ายที่ชื่อ ‘Dalek’ ว่าในหนังซีรีย์เรื่อง Dr Who ครับ
5. การสังเคราะห์เสียงพูด (Speech Synthesis) Photo From Digboston.com
การทำเสียงหุ่นยนต์ในดนตรีนั้น จะสร้างด้วย การสังเคาะห์เสียงพูด (Speech Synthesis) ได้เช่นกัน..วงที่ใช้การเอฟเฟคแนวนี้คือ Kraftwerk ครับ ที่ก่อนหน้าเคยใช้เป็น โวโคดเดอร์มาก่อน โดยจะใช้ในช่วงที่วงนำงานเก่าๆกลับมาทำใหม่ และมีการใช้คอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ ในการสังเคราะห์เสียงของการ ‘ร้อง’ อีกด้วย.. ตอนหลังมีการพัฒนาด้านนี้มากขึ้นอย่างเช่น 'Vocaloid' โปรแกรมสร้างเสียงร้องที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทยามาฮา ซึ่งจะเรียกว่า ‘วอยซ์ ซินธิไซเซอร์’ และนี่คือต้นกำเนิดของ ‘มิกุ’(Hatsune Miku)นั่นเอง
6. ซอฟท์แวร์ทำเพลง (Ableton Live) Photo From I.Ytimg.com
เราเดินทางมาถึงยุคที่ ทุกอย่างสามารถทำง่ายๆด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันแล้วครับ ...ซึ่งการใช้ซอฟท์แวรท์ทำเพลง DAW(Digital Audio Workstaion) ก็จะตอบโจทย์ได้หลายๆเรื่อง ทั้งการลงทุนที่น้อยกว่า ขั้นตอนการทำงานที่ง่ายกว่า(โปรแกรมจะคิดคำนวณไว้ให้) และยังสามารถ ‘Custom’ ได้เยอะกว่าอีกด้วย!! อย่างเอฟเฟคอื่นๆที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ในซอฟท์แวร์ Ableton Live ได้บรรจุไว้พร้อม ตัวอย่างเช่นโวโคดเดอร์(Vocoder) ที่มีลูกเล่นของอุปกรณ์ Vocoder อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการตัดให้เสียงเล่นเฉพาะย่านเสียงที่ต้องการ หรือการเล่นเสียงผ่าน Ring Modulator หรือแม้แต่การ เล่นเสียงร้องด้วยการ 'มอดูเลต' ผ่าน 'ซินธิไซเซอร์' เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ‘เสียงหุ่นยนต์’ นั้นจะมีการพัฒนาต่อๆกันมาเรื่อยๆ ส่วนการหยิบยกมาใช้นั้น ก็จะมีทั้งการ ‘สร้างความแตกต่าง’ ในเสียงร้องแบบ 'Cher' หรือ 'Snoop Dogg' ในสไตล์ทอล์กบ๊อกซ์ และนอกจากนั้นก็มีเรื่องของการพรีเซนต์วงดนตรีในโลกอนาคต ด้วยการ ‘สร้างคาแรคเตอร์’ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นแบบ 'Kraftwerk' และ 'Daft Punk' นั่นเองครับ..ซึ่งถ้าใครอยากจะเรียนรู้ ในเรื่องการสร้าง เสียงหุ่นยนต์แบบง่ายๆด้วยซอฟท์แวร์ Ableton live ร่วมถึงซาวด์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อมาใช้กับวงดนตรี(ทุกประเภท) ได้นั้น..โรงเรียนอินเอียบีทมีหลักสูตร Electronic Musician ไว้รองรับทุกคนครับ หรือถ้าใครสนใจอยากทำเพลงของตัวเอง ให้ล้ำสมัยในสไตล์ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ลองเข้าไปดูหลักสูตร Music Producer กันเลยครับ
Opmerkingen