เปิดมุมคิด ‘Gerhard Behles’ ผู้ให้กำเนิด Ableton Live!
จากการมองเห็น ‘ช่องว่าง’ ในกระบวนการผลิต..บวกการเป็นนักดนตรีพาร์ทไทม์และโปรแกรมเมอร์สุดเนิร์ด.. Gerhard Behles คิดแค่จะสร้างซอฟท์แวร์เพื่อ ‘สนองนี้ด..ตัวเอง’..แต่ผลลัพท์กลับ ไปตอบโจทย์วงการโปรดิวเซอร์ทั่วโลก.. วันนี้เราไปดูมุมมองและแง่คิดของ CEO คนนี้กัน!!
(Photo From Highsnobiety.com)
ก่อนหน้าจะเป็น.. Ableton Live (Photo From Static.Kvraudio.com)
“ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่หาได้ยากนะครับ สำหรับสมัยนี้..ที่ใครจะทำงานในตำแหน่งเดียว หรือบริษัทเดียวไปตลอดชีวิต..แต่นั้นแหล่ะครับ..ผมเลย!!” Gerhard Behles ย้ำว่าเขาต้องการให้ Ableton AG ที่ร่วมก่อตั้งกับเพื่อนนักดนตรีอย่าง Robert Henke และ Bernd Roggendorf เป็นที่ทำงานแรกและเป็นงานสุดท้ายของชีวิตเขา!
ก่อนหน้านี้ Gerhard กับ Robert เป็นนักดนตรีอิเล็กทรอนิกส์..แถมยังมาทางเพลงอีดีเอ็มสาย ‘มินิมอล-เทคโน’ ‘ดั๊บ-เทคโน’ และบางที่ก็ออกจะลึกไปทาง ‘ไอดีเอ็ม’(Inteligent Dance Music)ด้วย..ในนามวงดูโอ้ ‘โมโนเลค’ ซึ่ง Gerhard บอกว่า ช่วงนั้นเขาโชคดีมาก ที่ได้มีจังหวะตระเวนเล่นดนตรีกับเพื่อนรัก..จากนั้นพวกเขาก็เริ่มจริงจังในขั้นตอนการทำเพลงกันมากขึ้น!
Gerhard พบว่าหลายๆขั้นตอนในการทำเพลง ด้วยคอมพิวเตอร์นั้นยังมีข้อบกพร่องอยู่! และด้วยความเป็น ‘หนุ่มเนิร์ด’บวก ‘คอมพิวเตอร์กี๊ก’ของทั้งคู่..พวกเขาจึงลงมือเลย! ไม่ปล่อยไว้เฉยๆ “ถ้าเห็นว่ามันมีช่องว่างอยู่..แล้วทำไมไม่เองซะเลยล่ะ!” Gerhard ตั้งปฏิญาณเอาไว้!! โดยใช้ความสามารถด้าน วิทย์-คอมที่ตัวเองจบมาโดยตรง ประกอบกับ การที่ Robert เป็นถึงวิศวะ อีกด้วย!..และครั้งนั้นเอง โปรแกรมทำเพลง แบบที่นิยมเรียกกันว่า ‘DAW’(Digital Audio Workstation’ ในแบบฉบับของพวกเขา จึงถือกำเนิดขึ้น!!
กำเนิด Ableton Live (Photo From Morgenpost.de)
อย่างที่บอกว่า การทำเพลงในช่วงนั้น มันดูเหมือนว่าไม่มีอะไรเข้ารูปเข้ารอยสักอย่าง ทั้งอุปกรณ์และตัวคอมพิวเตอร์เอง.. เขาจึงออกแบบซอฟท์แวร์ไว้สำหรับ ความจำเป็นส่วนตัวล้วนๆ ซึ่งมันก็ตอบไม่ได้ว่าตรงกับความต้องการของใครรึเปล่า “ไอ้เรื่องฟั่งชั่นและฟีเจอร์ต่างๆบางครั้งเราไม่รู้หรอกว่ามันจำเป็นรึเปล่า..แต่เชื่อมั้ยว่าพอมันถึงเวลา คุณจะรู้เองว่าสิ่งนี้มัน..โคตรจำเป็นเลย!”
Gerhard บอกว่าตอนหลังจาก Ableton Live ออกมาเป็นเวอร์ชั่นสำหรับทุกคนแล้ว เขาส่งทีมสำรวจซึ่งนอกจากเซอร์เวย์แล้ว ที่เน้นพิเศษคือการ ‘ลงสนามจริง’นั่นเอง!! พวกเขาเกาะติดนักดนตรี หมกตัวอยู่ในสตูดิโอกับพวกนั้นทั้งวันทั้งคืน ซึ่งนั้นทำให้ Gerhard รู้เรื่องมากกว่าเรื่องที่เขาอยากรู้เสียอีก!!
จริงๆแล้วแทบจะทุกขั้นตอน ที่ Gerhard และทีมงาน Ableton AG จะดึงนักดนตรี มาร่วมด้วย มาช่วยเผชิญปัญหาที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งเขาบอกว่ามันเป็นการร่วมมือกันที่สนุกมากๆ ได้ใช้เวลาร่วมกันกับเหล่านักดนตรีเก่งๆ และแก้สถานการ์ณต่างๆกับกลุ่มคนที่ต้องใช้งานมันจริงๆ
เมื่อ Ableton กลายเป็นโปรแกรมสำหรับ ‘มืออาชีพ’ (Photo From Ableton-Live-Expert.com)
ปฎิเสธกันไม่ได้จริงๆ..ว่าโปรแกรมนี้ค่อนข้างยากเลยทีเดียว!! “มันเป็นเรื่องที่ออกจะใหญ่เหมือนกันนะครับ..เพราะโปรแกรมนี้ทำมาสำหรับ ‘โปรเฟสชั่นแนล’ โดยเฉพาะ!!” Gerhard บอกว่าเราต้องยอมรับกันว่า ไม่มีใครเริ่มมาก็ใช้เป็นเลยแน่นอน (คือไม่มีใครมันเป็นทุกอย่างตั้งแต่เกิดนั่นเอง!) “ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นอุปสรรคอะไรหรอกครับ ถ้าคุณเริ่มเรียนรู้มันไปสัก 2-3อย่าง แล้วคุณจะเข้าใจเองว่า จริงๆแล้วมันก็ไม่ได้ยากเลย” ซึ่ง Gerhard ยังยืนยันว่าเขาไม่อยาก ‘ตัดทอน’ อะไรบางอย่างออกไป เพียงเพราะว่ามันเข้าใจยากเกินไป!!
ว่าด้วยเรื่องของ ‘ฮาร์ดแวร์’ กับการเล่นไลฟ์ (Photo From Djtechtools.com)
เนื่องจากการที่เขาเป็นศิลปินมาก่อน เลยไม่อยากที่จะมีการ ‘จำกัด’ อุปกรณ์ที่มาเพอร์ฟอร์มคู่กับ ซอฟท์แวร์นี้ แต่ก็ยังทำการออกสำรวจ และวิเคราะห์เพื่อพัฒนาต่อไป โดย Ableton AG นั้นเต็มไปด้วยผู้มีความรู้ด้านดนตรี ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่มองในมุมของศิลปิน..แต่พวกเขาก็พยายามพัฒนา ‘ฮาร์ดแวร์’ ออกมาเหมือนกันนะครับ เพื่อตอบสนองกลุ่มคนที่เพอร์ฟอร์มแบบ ‘ไลฟ์’ นั่นเอง!
“ตั้งแต่ช่วงปีที่สอง ที่สามหลังจากซอฟท์แวร์ปล่อยตัวออกไป เราได้เห็นว่าคนเอา Ableton Live มาใช้กับการแสดงสด โดยเน้นไปที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก..ซึ่งตอนนั้นมีคนเข้าใจผิดคิดว่า พวกเขาเอาคอมพิวเตอร์ขึ้นมาตอบอีเมลล์เสียด้วยซ้ำ!?!” ด้วยเหตุนี้ Gerhard จึงมองหาพันธมิตรร่วมพัฒนา ซอฟท์แวร์ของเขากับการเพอร์ฟอร์มสดบนเสตจ และเขาก็พบกับ Akai นี่เอง!! จากนั้น APC จึงเกิดขึ้นมารองรับ ดีเจ/โปรดิวเซอร์ และนักดนตรี อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Musician) โดยเฉพาะ ซึ่งคำว่า ‘APC’ ก็มาจาก ‘Ableton Performance Controller’ ครับ
ปฎิรูปวงการของการทำเพลง..ด้วย ‘PUSH’! (Photo From Pbs.twimg.com)
หลังจาก APC ออกมา Ableton AG ก็อยากทำอุปกรณ์ที่ นอกจากเพอร์ฟอร์มแล้ว ยังช่วยในขั้นของการโปรดักชั่นด้วย “ความแตกต่างของมันคือ ถ้าคุณมี ‘APC’ คุณจำเป็นต้องมี ‘Live Set’ ที่พร้อมเล่น และเตรียมส่งต่อไปถึงคนฟัง แต่กับ ‘PUSH’ คุณเหมือนมี ‘Studio’ อยู่กับตัว ซึ่งทำให้คุณจบงานได้ ก่อนค่ำคืนจะผ่านพ้นไป! และนั้นคือเป้าหมายของผมละ!..อุปกรณ์ที่ช่วยคุณตั้งแต่เริ่มต้น จนเป็นเพลงออกมา” Gerhard กล่าว!!
สำหรับ Ableton AG พวกเขาเหลือเพียง ‘อุปกรณ์’ ตัวสุดท้ายที่ตั้งใจจะ พัฒนามันออกมาสำหรับ รองรับในช่วงขั้นตอนเสร็จสิ้นของกระบวนการทำเพลง..จะช่วยคุณในเรื่อง ‘Edit’ ก่อนจบและ ‘Export’ มันออกมานั่นเอง!! เพื่อทำให้คุณทำเพลงโดยแทบจะไม่ต้องมอง ‘หน้าจอคอมพิวเตอร์’เลยด้วย!!
“มันเป็นเรื่องที่เกิดกับ ทุกคนใน Ableton AG ครับ..เราต้องทำงานอยู่ ‘หน้าคอม’ กันหลายชั่วโมงซึ่งผมก็ไม่อยากให้คุณมานั่งจมปลักอยู่ ‘หน้าคอม’ ในตอนคุณทำเพลงอีกเช่นกัน..และนั้นคือสาเหตุที่เราพัฒนา PUSH กันอย่างหนักครับ”
บทส่งท้ายกับ Gerhard Behles
การเป็นคนที่ชอบลองอะไรใหม่ๆ เหมือนกับ Gerhard นั้น.. เราก็ต้องมองโลกในแง่ดีและไม่ท้อถอยกับความ ‘ผิดพลาด’ นะครับ.. เพราะมันเป็นเหมือนกฎที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว!!
Aleton Live ลองผิดลองถูก มามากว่า 15 ปีแล้ว จนทำให้ซอฟท์แวร์นี้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก และ ถึงแม้ตอนนี้ Gerhard จะ ‘เลิก’ ทำวงโมโนเลคกับ Robert Henke เพื่อนของเขาแล้ว..แต่เขาคนนี้กลับ ‘เลือก’ ที่จะซัพพอร์ต..ด้วยการ ทุ่มเทพัฒนา ซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ สำหรับ ทุกๆคนในวงการดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ที่เขารักนั่นเอง!!
สำหรับใครที่อยากทำเพลงเป็น พร้อมเรียนรู้ผ่านระบบการสอน แบบมาตราฐาน กับโปรแกรม Ableton Live ในฐานะ 'โปรดิวเซอร์' ทางโรงเรียนดนตรีอิเล็กทรอนิกส์อินเอียบีท มีคอร์สเรียนไว้รองรับตั้งแต่ขั้นพื้นฐานอย่าง Basic Producer Course จนไปถึงขั้นสูง Advanced Producer Course ที่จะทำให้เราดึงศักยภาพของโปรแกรม Ableton Live มาใช้ได้อย่างถูกต้องและเต็มที่!!
และขอแนะนำคอร์สใหม่จากอินเอียบีท ที่เน้นทางด้าน การดึงฟังชั่นและฟีเจอร์จาก Ableton Live มาประยุกต์ใช้กับการเพอร์ฟอร์มสดๆ ในรูปแบบนักดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ กับคอร์ส Electronic Musician ครับ..โดยผู้เรียนสามารถนำมาใช้กับวงดนตรีได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น Pop Rock หรือกระทั่ง Jazz ครับ
-- ข้อมูลจาก Highsnobiety.com เรียบเรียงโดย Choco Beat --