มือสร้าง Sound MD ตำแหน่ง "โคตรหล่อ" ของวงดนตรี..ที่คุณอาจไม่เคยรู้!?!
สำหรับการออกคอนเสิร์ต หรือแสดงสดของวงดนตรี..เพื่อนๆส่วนมากนั้น อาจจะแค่รู้จักหน้าตา “ตำแหน่ง” ต่างๆของวง เช่น นักร้องนำ(Lead Vocalist)..มือกีต้าร์(Guitarist)..มือกลอง(Drummer) ..มือเบส (Bassist) และมือคีย์บอร์ด(Keyboardist) เท่านั้น… แต่ทว่า!! ถ้าคุณฟังดีๆ บางเพลงของวงดังๆ ก็อาจจะมีไลน์เพลง ที่มีซาวด์ของเครื่องดนตรี มากกว่าจำนวนสมาชิกในวง!! เช่น..เพลงของวงนั้นอาจจะมีซาวด์ เปียโน(Piano) , ซินธิไซเซอร์ (Synthesizer), เครื่องสาย(String) , ซาวด์เอฟเฟคต่างๆ รวมถึงเสียงคอรัส (Chorus Effect).. แล้วในการเล่นไลฟ์โชว์หล่ะ เข้าดึงเสียงเหล่านั้นมาได้อย่างไร..วันนี้เราไปหาคำตอบ กับ "ตำแหน่งพิเศษ" ที่ว่านี้กันครับ!!
ก่อนอื่นผมต้องขอแนะนำวิธีก่อนครับ..ซึ่งถ้าเป็นวงดนตรีของต่างประเทศส่วนใหญ่จะนิยมใช้อยู่ 2 วิธี ในการนำเสียงของเครื่องดนตรีอื่นๆเข้ามาใช้ในการเล่นสดคือ...1.ระดมหานักดนตรีมาแบ๊คอัพในเวที หรือ วิธีที่ 2 ก็คือหาสมาชิกพิเศษ มาประจำในตำแหน่งนั้นคือ "มือสร้าง Sound MD" ที่จะพูดถึงนั้นเองครับ!! แต่เดี๋ยวไปดูวิธีแรกกันก่อนเลย
1.นักดนตรี/วงแบ็คอัพ (Backing Band หรือ Backup Band)
ศิลปิน หรือวงดังๆระดับโลก อย่างเช่น Taylor Swift, Maroon 5, Paramore,One Direction นั้นอาจมีสมาชิกในวง ไม่พอที่จะครอบคลุม ไลน์ที่อยู่ในเพลงนั้นๆ.. จึงจำเป็นต้องมีนักดนตรี Backup ในวงเพื่อเล่น ในส่วนของไลน์ที่เหลือ และทำให้วงดนตรีแน่นและมีมิติมากขึ้น!!
2.การใช้ Sound MD แทนการแบ็คอัพ
สำหรับ “Sound MD” เป็นไลน์เสียงที่นักดนตรีหลักไม่ได้เล่น เช่น เสียงร้องคอรัส,กีต้าร์คอร์ด,เปียโน,หรืออื่นๆ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆเพื่อเป็นตัวปล่อยซาวด์ ที่กล่าวมานั้นเอง โดยที่มาของ “Sound MD” มาจาก รูปแบบของตัวบรรจุเสียงนั้นเอง “M.D” ก็จะย่อมาจาก “MiniDisc” ครับ ..ซึ่งถ้าย้อนกลับไป ถึงการเล่นอุปกรณ์พวกนี้ ตัวบรรจุไฟล์เสียงรุ่นแรกๆคือ Sequencer ต่อมาถูกพัฒนาเป็นไฟล์เสียง และใส่ในคอมพิวเตอร์..สำหรับช่วงนั้น
จากนั้นพอการพัฒนาของเทคโนโลยี ที่รวดเร็วขึ้น จึงนำไปสู่ การเก็บไฟล์เสียงในรูป Mini Disc ที่พกพาได้สะดวกขึ้น แต่อาจจะมีข้อบกพร่องตรงการ เลือกไฟล์ข้ามไปมาได้ยาก จากนั้นจึงเป็นยุค Hard Disk ..และในปัจจุบันนั้น ก็กลับมาเป็นคอมพิวเตอร์อีกครั้ง แต่ในรูปแบบโน๊ตบุ๊ค ที่พกพาไปไหนมาไหน ได้สะดวกนั้นเองครับ...แต่ถึงอย่างไร ที่ยังนิยมเรียกกันว่าเป็นตำแหน่ง “Sound MD” ในวงนั้น เนื่องจากออกเสียงง่าย และเป็นคำที่ติดปาก ของวงการไปแล้ว นั้นเองครับ!! (ตามสไตล์พี่ไทย)
ลองไปดู อุปกรณ์ที่ผมเคยใช้ตอนเล่นBackup ในตำแหน่ง Sound MD ให้กับศิลปินต่างๆกันครับ
2.1 Korg D888
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณเสียง(หรือภาษาติดปากของนักดนตรีจะเรียกว่า อุปกรณ์ใช้สำหรับปล่อย MD) มีช่องTrackให้มา 8 Track..วิธีการใช้งานคือต้อง “Record” ในส่วนของ ซาวด์นั้นๆเก็บไว้ในเครื่อง ตามTrack ต่างๆ เวลาใช้งานกับวง ก็แค่เลือกปล่อยซาวด์ ที่นักดนตรีในวงไม่ได้เล่น ส่วนใหญ่มือกลองจะเป็นคนปล่อยซาวด์ เพราะจะมีเสียง “Metronome” ที่มือกลองต้องได้ยินด้วย วงในเมืองไทยที่ใช้รุ่นนี้ ก็คือวง “Sweet Mullet” นั้นเองครับ
2.2 Fostex VR 160
ระบบทุกอย่างทำงานเหมือน Korg D888 แต่ที่เจ๋งคือ มีช่องใส่ “CD” มาให้ด้วย แข็งแรงและทนกว่า
วงในเมืองไทยที่ใช้เช่น Bodyslam,…Silly Fools…และ Ebola เป็นต้น ต้องบอกก่อนว่าจริงๆแล้วยังมีรุ่นอื่นอีกเยอะมาก แต่สองรุ่นนี้เป็นรุ่นยอดนิยม ที่ส่วนมากวงดนตรีใหญ่ๆใช้กัน และยังมีอีกหนึ่งอุปกร์ที่นิยมใช้ปล่อย Sound MD ได้คือ....คอมพิวเตอร์และซาวด์การ์ด ปล่อยได้ทุกโปรแกรมตั้งแต่ Ableton…Logic…Cubase…และ Pro tools ซึ่งโปรแกรมแต่ละตัวจะให้คาแรคเตอร์ที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้เลือกใช้ วงดนตรีในเมืองไทยที่ใช้ระบบนี้เช่น “Paradox” และ “Zeal” เป็นต้น
และสุดท้ายคือ ปล่อย Sound MD จาก "iPad" การทำงานคือ ใช้สาย 1 ออก 2 ด้วยวิธี แพน(Pan) ดนตรี ไว้ซ้ายหรือขวา แล้วปล่อย “Metronome” อีกข้าง เช่น สายสีขาว เป็น Sound MD ส่งเข้าบอร์ดของเวที สายสีแดงเป็น Metronome ส่งหามือกลองในวง
(ต้องบอกก่อนว่า ผมใช้อุปกรณ์ทุกอย่างนี้มาหมดแล้ว การใช้งานขึ้นอยู่กับ สถานะการณ์และงบประมาณครับ แต่ถ้าจะให้เลือกผมขอเลือกเจ้า “Fostex VR160” ดีกว่าครับ เพราะมัน “ทน” ต่อทุกๆกระแสไฟที่เข้ามา เพราะบางที เป็นไฟปั่น ซึ่งจะมีอาการของไฟกระชากเกิดขึ้นได้ เครื่องนี้ลุยได้ทุกงานครับ ฮ่าๆ)
ทีนี้จะเกิดอะไรขึ้น...ถ้า เราจะเพิ่ม ตำแหน่งใหม่ให้กับวงดนตรีของเราล่ะ??
ใช่แล้วครับ!! คุณเลือกที่จะวาง "นักดนตรี" เพียงแค่คนเดียว ในการสร้างเสียงอื่นๆ..ด้วยเจ้า“Sound MD" อย่างที่กล่าวมานั้นเอง! แถมในยุคหลังๆนี้ จะเป็นอะไรที่เท่ขึ้นอีก!! เพราะนอกจากปล่อยเสียงอุปกรณ์ดนตรีพื้นฐานแล้ว...คุณจะได้เห็น การใช้ Midi Controller หรือ ร้องสดแบบผ่าน อุปกรณ์เอฟเฟคเก๋ๆ การสร้างบีทอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนามากยิ่งขึ้น หรือกระทั่งรูปแบบการเล่นสไตล์ดีเจ ประสานลงไป!! บางคนอาจเรียกตำแหน่งนี้ว่า คอนโทรเลอร์ริสท์(Controllerist) หรือ มือดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Musician) ก็ได้ครับ (เมื่อก่อนคนปล่อย Sound MD คือมือกลอง เพราะคุม Metronomeแต่ตอนหลังภาพของอิเล็กทรอนิกส์กว้างขึ้น จึงแตกออกมาเป็นอีกหนึ่งตำแหน่งสำคัญครับ)
ที่เห็นคุ้นๆกันก็น่าจะมี คุณเอ้ Boom Boom Cash… อาจารย์ต่อ ของเรา กับวง Lazer monster ส่วนผมเองที่ใช้กับวง Paradox และ Ebola ครับ
ถือว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องมีความเข้าใจในเรื่องดนตรีสูงมาก เพราะต้องมีความแม่นยำในส่วนของท่อนเพลง และต้องเข้าใจในอุปกรณ์ Electronic Music ที่เลือกมาใช้กับวง เพื่อให้ ซาวด์นั้นๆที่ออกมา แมทช์ และลงตัวกับวงดนตรีที่มีอุปกรณ์ดนตรีที่เล่นสด
สุดท้าย ผมขอยกตัวอย่างอีกคน ในตำแหน่งพิเศษของวงที่ว่านี้ แบบเห็นกันชัดๆ คือ Joe Hahn แห่งวง Linkin Park ครับ ซึ่งนอกจากจะ เป็นมือเปียโนและเล่น “Controllerist” แล้ว ยังเป็น “DJ” ในวง Linkin Park เห็นไหมว่าตำแหน่งนี้ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ฮ่าๆๆ เพราะต้องเก่งจริงๆ และมีความสำคัญไม่ต่างกับนักดนตรี ในตำแหน่งอื่นๆ เลยละครับ!!
By KAZZ