วิธีเตรียมตัวก่อนไปเล่นดีเจ!! (เพื่อไม่ให้แป๊กกลางเวที)
สำหรับใครที่เพิ่งจะได้ขึ้นงานโชว์เป็นครั้งแรก..หรืออาจจะหลายครั้งแล้วแต่ยังหวั่นๆใจอยู่ทุกที..วันนี้ผมมีเทคนิคและวิธีดีๆมาฝากเพื่อนๆครับ..เพื่อลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น(เช่นเสียงไม่ออก)..และจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้ายังไงดี?.. เรื่องพวกนี้ถือว่าสำคัญมากนะครับ เพราะถ้าไหนๆเราก็เสียเวลาซ้อมหนัก..เพื่อไปเปิดสักงานนึงแล้ว.. การเตรียมการให้พร้อมย่อมคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปแน่นอนครับ (แม้เซทที่เตรียมมาจะเทพขนาดไหน..แต่สุดท้ายเสียงไม่ออก ก็จบกันพอดีครับ) ..เอาเป็นว่าลองไปดูขั้นตอนเตรียมตัวที่ว่านี้ กันดีกว่าครับ :D
1.อย่าพึ่งของหน้างาน(อุปกรณ์)
เตรียมอุปกรณ์ทุกชิ้น สาย หัวแปลง Controller คอมพิวเตอร์ หูฟัง หรือแม้กระทั้ง ปลั๊ก3ตา หลายครั้งเวลาที่ผมไปเล่นผมจะ เอาไปแม้กระทั้งโต๊ะ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้แบบละเอียดว่าเราจะไปเจออะไร...?!?
สำหรับคำแนะนำนะครับ ก่อนหน้านั้นผมจะเล่นนั้น ผมจะทำการซ้อมจับเวลา ในการตั้งเครื่อง เก็บอุปรณ์อะไรเสียบอะไร ถ้าแบบนี้เสียบไม่ได้ เราต้องมีแผน2หรือ3 เพื่อที่ทำยังไงก็ได้ให้เราเล่นได้ และไม่มีอุปสรรค์ใดๆมาขวางในการShowของเรา อย่าคิดว่า....เอาไปแค่นี้ละกัน ไปถึงหน้างานคุณจะดูไม่โปรขึ้นมาทันที
2.รู้จักอุปกรณ์ของคุณอย่างดี
อะไรต่อเข้าอะไร ส่งสัญญาณแบบไหนเราต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนล่วงหน้า เราต้องเชคและรู้ให้ได้ว่า เครื่องเรามีระบบ in และ out แบบไหน เป็นแบบหัว RCA หรือแบบ XLR งานทุกงานส่วนใหญ่จะเป็น XLR
3.Sound Check แบบที่เราได้ประโยชน์
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ เพราะจะมีผลโดยตรงในตอนเล่น สิ่งที่ควรทำคือ
- เริ่มจาก เลเวลหรือMaster ที่เราปล่อยสัญญาณไป ควรตั้งอยู่ในระดับที่พอเหมาะ และสามารถเพิ่มสัญญาณได้อีก ไม่ควรจัดเต็มในการปล่อยสัญญาณออกไป เพื่อช่วยให้ซาวไม่ล้น และบาลานซ์ ซาวด์ง่าย (ซาวเอ็นกลางไม่ปวดหัว ฮ่าๆ)
- มอนิเตอร์ สำคัญมากๆ ต้องรู้จักวิธีขอมอนิเตอร์ ให้เกณสำหรับมอนิเตอร์เราฟังสบาย ไม่อึดอัดและไม่ล้น
(สำหรับปัญหาแรกที่จะเกิดในกรณี มอนิเตอร์ล้นคือ....เราจะไม่ได้ยิน เพลงที่เรา CUE เพื่อรอปล่อย หาท่อนไม่เจอ เพราะมอนิเตอร์ดังเกินไป) นอกจากนี้บนเวทียังมีมอนิเตอร์อีกหลายชนิดให้เสียงและการทำงานที่ต่างกัน ควรขอเกณในระดับที่พอเหมาะ
4.รู้จักหน้าที่ของพี่ๆบนเวที และหน้าเวที (backstage sound engineer)
บุคลากรที่สามารถช่วยเราได้(บนเวที)คือ backstage บอกได้เลยว่า นอบน้อมไว้ครับ พี่ๆเค้าจะช่วยเราได้แน่ๆในกรณีที่ Show ของเรามีปัญหา หรือตั้งแต่ Sound Check ครับ
ส่วนพี่ๆSound Engineer จะช่วยเราเรื่องเสียง เค้าจะอยู่ที่บอร์ดด้านล่างเวที เป็น Sound กลางของงาน
(ทริคส่วนตัว....บางงานที่ซีเรียสมาก ผมจะมี backstage และ sound engineer คู่ใจ เค้าจะรู้ใจเรื่องการทำบาลานซ์มอนิเตอร์และการคอนโทรลซาวด์ ในสถานการณ์ต่างๆ)
5.เรียนรู้วิธีการโดน....วางยา
หลายครั้งที่..ทุกวันนี้ยังหาเหตุผลไม่ได้ว่าทำกันไปทำไม (ฮ่าๆ)..สิ่งที่ทำให้เราไม่ต้องเครียดจากเรื่องแบบนี้เลยคือ
- รู้จักอุปณ์ของเราอย่างดี อะไรต่ออะไรอะไรเข้าอะไร
เราจะปล่อยสัญญาณไปที่ไหน อันนี้ต้องเข้าไปดูก่อนที่เราจะ Set up อุปกรณ์
- เชคก่อนเล่นทุกครั้ง มีอะไรผิดปกติไหม หลังจากเรา Set up อุปกรณ์แล้ว
- ถ่ายรูป เกณความดังปุ่มทุกๆปุ่ม เราตั้งค่าไปที่ไหน ก่อน เดินออกจากสถานที่
- (ทริคส่วนตัว....หลังจาก Sound Check แล้วผมจะถ่ายรูปไว้ทุกครั้ง ว่าอะไรอยู่ตรงไหน หรือถ้าจะให้ดี แนะนำให้ตัดเครสใส่อุปกรณ์ของเรา ปิดฝาเครสไว้ จะได้สบายใจ)
มันไม่สนุกแน่ๆ ถ้าใช้เวลาซ้อมเป็นเดือนๆ สุดท้าย มาตกม้าตายตอนวันเล่นจริง เพราะฉนั้น ต้องเตรียมตัวและรู้ก่อน ว่าเราจะเจออะไร สิ่งสำคัญสำหรับผมคือ....อย่าพึ่งของอุปกรณ์หน้างาน เอาไปเองให้หมด ต่อทุกอย่างไว้ พอถึงเวลาก็แค่เสียบอุปกรณ์ปลั๊กไฟ สาย inและout เข้ากับปลั๊กหรืออุปกรณ์ของงานแค่นั้น
อีกอย่าง....มันจะบอกเลยว่า "คุณโปรมาก" ครับ :D
อ.Kazz