top of page

เปิดศึก Traktor Stems VS. Ableton Live

จากที่ผมได้เคยพูดถึงการมาของ Stems File เทคโนโลยีไฟล์แบบใหม่จาก Native Instrument ที่ให้เราสามารถใช้เพลง 1 เพลง กับไฟล์ 1ไฟล์ แต่สามารถควบคุมเสียงใน 1 เพลง แยกออกเป็น 4 Track คือ Drum, Bass, Music, Acappalla โดยควบคุมผ่าน Stems Deck ให้เราสามารถเล่นไฟล์เพลงผ่าน Traktor 2.9 โดยควบคุมผ่านอุปกรณ์ Controller ของ NI เช่น S8, D2, F1 หรือสามารถทำ Midi Mapping กับอุปกรณ์ Controller อื่นได้ แต่อีกมุมนึงหลายคนคิดว่าการเล่นแบบนี้ เป็นที่คุ้นเคยของ Ableton User ทุกคนเป็นอย่างดีอยู่แล้ว โดยส่วนใหญ่การใช้งานเวลาเพอร์ฟอร์มกับ Ableton จะใช้การเล่นกันในลักษณะดังนี้

- นำเพลงต้นแบบมาทำการปรับแต่งค่า ปรับท่อน เพิ่มความมันส์ให้กับเพลงโดยการใส่ซาวด์ เพิ่มเติม และสร้าง Group โดยในกรุ๊ปอาจจะมี 4 Track เช่น Drum, Bass, Synth, Vocals

- โดยการเล่นอาจทำการ Remix เพลงสดๆ เล่น Effect ต่างๆ หรือเปิดปิดแต่ละแทรคที่แยกไว้ในกรุ๊ป

- ยังคงให้ความเคารพกับเพลงต้นแบบ แต่สร้างสีสันด้วยซาวด์ต่างๆ ปรับแต่งท่อนต่างๆให้สนุกขึ้น

ถ้าฟังจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าผู้ใช้งาน Ableton จะสามารถสร้างทุกอย่างตามจินตนาการได้อย่างเต็มที่ คำถามตอนนี้ที่ทุกคนถามคือ

“ แล้วทำไมเราต้องมาใช้ Steam เพื่อการเล่น Live Performance ละ? ” คำถามนี้ก็มีคำตอบมาให้ครับ โดย ผมจะแบ่งเป็นจุดเด่นและจุดด้อยของทั้งสองซอฟท์แวร์ให้เห็นครับ

จุดเด่นของ Traktor DJ

ในส่วนของหน้า Browser ของ Ableton นั้นมีขนาดใหญ่ และเหมาะสำหรับจัดเก็บดูแล Wave File ต่างๆได้อย่างดี แต่ในทางตรงข้ามก็มีความลำบากบางอย่างอยู่ คือ

- มีความลำบากในการสร้าง Folder ที่จัดเก็บและการจัดระเบียบ

- ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ใหญ่มาก ในกรณีทำ Remix Set “1เพลง 4Track Drum, Bass, Synth, Vocals ”

- มีความสับสนในกรณีที่จะทำการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนไฟล์แบบรวดเร็ว

ภาพตัวอย่างของหน้า Browser ของ Ableton และ Traktor

จากทุกข้อที่กล่าวมาจะเห็นว่า Traktor สามารถมาชดเชยความสามารถตรงจุดนี้ในการ Load ไฟล์ต่างๆในขณะเล่นได้ดีกว่า “กรณีเล่นแบบ Remix Set” แต่ในกรณีที่เราอาจเล่นเพลงแค่ 15 เพลงหรือไม่เยอะมาก และเล่นเป็นแบบ Remix Set กับ Ableton เราอาจจะไม่ได้รู้สึกอะไรมากนักกับปัญหาที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ Traktor นั้นมีความสามารถที่ง่ายกว่าทั้งในการจัดเก็บไฟล์ และการโหลดไฟล์มาใช้เล่น เพราะ Stems นั้นจะถูกจัดเก็บเป็นเหมือนไฟล์เพลงไฟล์เดียวเหมือนเพลงทั่วไป แต่เมื่อโยนเข้าไปใน Stems Deck มันจะทำการแตกไฟล์ออกเป็น 4 Part แบบอัตโนมัติ ซึ้งง่ายมากในการเพอร์มฟอร์มหรือต้องการเปลี่ยนเพลงในระหว่างการเล่นในรูปแบบ Remix Set

แล้วการ เซ็ตอัพเพลงก่อนเล่นละ ใครดีกว่ากัน ?

ภาพตัวอย่างของหน้า Deck Set Up ของ Ableton และ Traktor

การทำ Loop และ Cue Point เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญในการเล่นเพอร์ฟอร์มอยู่แล้ว ตรงจุดนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมากใน Traktor แต่ใน Ableton การตั้ง Cue Point นั้นคุณต้องแบ่งคลิปออกเป็นหลายคลิปต่อ 1เพลง เพื่อทำเป็นแต่ละ Cue Point และรวมถึงการสร้าง Loop ด้วย โดยใน 1 คลิปจะทำได้เพียงแค่ Loop เดียวเท่านั้น ยิ่งในกรณีถ้าคุณต้องมานั่งเซ็ตเพลงมากกว่า 50 เพลงขึ้นไป นี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆแน่ และคงสูญเสียเวลาไปมากกว่าการทำใน Traktor Djแน่นอน

แล้วในเรื่องคุณภาพเสียงจาก Stems File ละ?

ในทางทฤษฎีแล้ว Stems จะสามารถแก้ไขเรื่องเสียงในการเพอร์ฟอร์มให้เสียงตรงกับเพลงออริจินอลได้อย่างไร เพราะขั้นตอนการสร้างเพลงนั้น ต้องผ่านกระบวนการ Mixing และ Mastering กับซาวด์เอ็นจิเนียร์ และเมื่อผ่านกระบวนนั้นมาแล้วจะไม่สามารถนำเพลงมาปรับแต่งเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แล้วทำอย่างไรละที่เราจะแน่ใจว่า ไฟล์เพลงของ Stems เมื่อแตกไฟล์ออกมาแล้วจะทำให้ไม่เสียน้ำหนัก และมิติเสียงของเพลง จากเพลงออริจินอลเดิม แต่ในส่วนนี้ทางทีมงานได้ให้คำสัญญาว่าปัญหานี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นแน่นอนกับ Stems

ในทางตรงกันข้าม Ableton สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างง่ายดายเพราะตัวซอฟท์แวร์สามารถโหลด ปลั๊กอินที่สามารถปรับแต่งและควบคุมซาวด์ดีๆมาใช้ได้ในทันที

แล้วการทำ MIDI MAPPING ละ ?

Traktor ดีไซน์ให้เราสามารถทำการแมพเพื่อควบคุมค่าต่างๆได้แทบทุกค่าบนซอฟแวร์และสามารถปรับแต่งค่าการควบคุมต่างๆได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ในส่วนของขั้นตอนนั้น อาจมีรายละเอียดที่มากพอสมควรในการทำ Midi Mapping แต่ในทางตรงข้าม Ableton กลับทำขั้นตอนนี้ได้อย่างเรียบง่ายและง่ายดายกว่ามาก แต่อาจจะไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดได้เท่าใน Traktor

เราจะเห็นได้ว่า Traktor นั้นดีไซน์มาให้เราสามารถเล่นเพอร์ฟอร์มได้อย่างดี แต่ก็ไม่อาจหลีกหนีแพลตฟอร์มที่จำกัด ที่ซอฟท์แวร์ได้สร้างเอาไว้

ข้อด้อย ที่ทำไม Traktor ยังไม่อาจเทียบรุ่นได้กับ Ableton

Ableton คือซอฟท์แวร์ Digital Audio Workstation

Ableton สามารถสร้างสรรค์งานเพลงได้อย่างเต็มรูปแบบ และยังสามารถสร้าง Instrument Rack โหลดอุปกรณ์ดนตรีต่างๆมาใช้ได้อย่างง่ายดาย ในทางตรงข้าม Traktor ไม่ใช่ ซอฟท์แวร์ทำเพลง แต่พื้นฐานคือโปรแกรมดีเจเท่านั้น ซึ้งก็มีข้อจำกัด ทั้งในจำนวน Deck ที่ให้มาและระบบของซอฟท์แวร์

ระบบ Audio Effect และการสร้าง Custom Effect

ถ้าพูดถึงศิลปินโปรดิวเซอร์และการเพอร์ฟอร์ม Effect ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวของแต่ละบุคคล ใน Traktor นั้นมี Effect มาให้มากพอสมควรก็จริง แต่ไม่สามารถผสมเอฟเฟคและสร้างเป็น Effect ใหม่ได้ตามที่ต้องการได้ ถ้าเทียบกับทาง Ableton ผู้ใช้งานสามารถสร้าง “ Effect Rack ” ของตนเองและสามารถสร้างสรรค์ Effect ใหม่ๆออกมาได้อย่างเต็มที่

ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าในอนาคตต่อไป ดีเจจะใช้ไฟล์ที่เป็นแบบ Multitrack คือแยกชิ้นดนตรีออกเป็นหลายๆแทรคกันหรือปล่าว แต่การมาของ Stems File ก็ทำให้ดีเจนั้นได้พัฒนาการเล่นไปสู่รูปแบบที่น่าสนใจขึ้น และสร้างความแตกต่างและเอกลักษณ์ในการเล่นได้ ซึ่งเราก็ไม่ควรมองข้ามที่จะศึกษาและฝึกฝนการใช้งานไว้เพื่ออัพเกรดความสามารถของเราให้มากขึ้นกว่าเดิม

แต่ในส่วนของจุดเด่นจุดด้อยต่างๆในซอฟท์แวร์อาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ ถ้าเราเข้าใจและรู้จักข้อจำกัดของความสามารถและการใช้งานของซอฟท์แวร์และอุปกรณ์ที่เราใช้อยู่ได้อย่างดีเยี่ยม เพราะฉะนั้นเราไม่ควรหยุดที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะทำให้ซอฟท์แวร์ที่เราใช้งานนั้นมีประสิทธิภาพอย่าเต็มที่ถึงที่สุด

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ พบกันใหม่คราวหน้าครับ

อาจารย์นับ อินเอียร์บีท

15/8/2015

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page