top of page

5 สุดยอดเคล็ดลับ..สำหรับเปิดเพลงในงานโรงเรียน!!


ดีเจโรงเรียน.jpg

ใครเคยถูกเสนอให้ไปเล่น “ดีเจ” ในงานโรงเรียนหรืองานมหาลัยบ้างเอ่ย?? กังวลรึเปล่าว่าจะเปิดเพลงได้ถูกใจพวกเขามั้ย?? สำหรับบทความนี้จะพูดถึง เบสิกหลักๆ สำหรับการเป็น “ดีเจที่ดี” สำหรับงานปาร์ตี้ในรั้วโรงเรียนครับ..ซึ่งเนื้อหาอาจจะเน้นไปที่ทฤษฎีเสียส่วนใหญ่นะครับ อาจจะแซมเทคนิคลงไปบ้าง แค่เล็กน้อยเท่านั้น

เคล็ดลับที่ 1 : การเลือกเพลงนั้นสำคัญสุด!

นับเลข.jpg

1.จำนวนเพลงที่จะเล่น

ก่อนที่คุณจะไปยืนอยู่บนบูธดีเจในงานนั้น เรื่องสำคัญก่อนเลยคือ ต้องมีเพลงที่คุณเลือกๆเอาไว้ มากเท่าที่จะทำได้ สำหรับเตรียมเพลงไว้คัดที่จะเล่นจริงและเพลงสำรอง... คือถ้าไม่มีใครรีเควสท์เพลงไว้ล่วงหน้าละก็ อย่างน้อยๆเราก็ต้องมีเพลง เอาไว้ให้เพียงพอที่จะเล่นในงานนั้น(ลองดูตารางแสดงดู).. แต่สำรองเพลงเอาไว้สักชั่วโมงสองขั่วโมงดีกว่า คือถ้าเพลงหลักไม่เวิร์กก็ยังมีเพลงให้เอาตัวรอดไปได้... (วิธีกะเวลาก็ 1 ชั่วโมงจะตกอยู่ที่ 12-20เพลง)

2.ประเภทของเพลงที่จะเล่น

เมื่อคุณตกลงที่จะรับงานแล้ว..ต้องกับฝ่ายประสานงานให้ดีก่อนนะครับว่า เขามีตีมงานหรืออยากได้แนวเพลงประมาณไหน(ถ้าจะให้ดีถามถึงงานปีที่แล้วด้วยว่าเปิดประมาณไหน) เราจะได้รู้เป็นไอเดียเอาไว้ กันแป๊ก!!..ตัวอย่างเช่นถ้าต้องไปเปิดในตีม วาเลนไทน์เดย์ ก็มีเพลงช้าๆเอาไว้บ้าง..แต่ก็ควรจะพกแนวอื่นๆไปด้วยนะ เผื่อเปิดเพลงแนวงานเริ่มอิ่มตัวแล้ว คนดูอาจจะขอแนวอื่นๆบ้าง

เซ็นเซอร์คำหยาบ.jpg

3. เลือกเพลงที่มีเวอร์ชั่น “ผ่านการเซนเซอร์” ด้วยนะ!!

แน่นอนล่ะ!! ถามฝ่ายประสานงานก่อนเลยว่า เปิดเพลงได้ “เต็มที่” แค่ไหน!!..นั้นเพราะในงานในโรงเรียนสิ่งที่ต้องระวังคือเรื่องภาษา เราจึงขอแนะนำว่าควรจะมีแบบ Clean Version หรือ Radio Edit ครับ

เคล็ดลับที่ 2 : จะ “ซีดี” หรือ “แผ่นไวนีล” หรือ “คอมพิวเตอร์” ดีอ่ะ!!

ยอดมนุษย์ ซีดีเจ.jpg

1. ยอดมนุษย์ “ซีดีเจ”

ข้อดี : ทุกเพลงพร้อมจัดจำหน่าย ที่ร้านขายเพลง หรือสั่งออนไลน์ได้เลย.. หรือจะดาวน์โหลด(ถูกกฎหมาย) จากitunes และเบิรน์เบย!!

ข้อเสีย : ซีดีหลายๆแผ่นรวมกัน ก็หนักใช่ย่อยเหมือนกันนะครับ!! แถมที่สำคัญเราจำเป็นต้องมีตัว CD player อย่างหน่อยๆ 2ตัวเพื่อจะต่อเพลงได้ง่ายๆ.. และเอาเข้าจริงอาจจะเสียเวลาเหมือนกันถ้าต้องเลือกเพลงที่จะใช้ จากซีดี 300แผ่นในกระเป๋า!!

เกรียนไวนีล.jpeg

2. แผ่น “ไวนิล” สุดคลาสสิค

ข้อดี : ขุมพลังแห่งสุดยอดเสียงถูกปลดปล่อยมาแล้ว!! เราจะได้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าดังกว่า CD และได้ เสียงเบสที่ชัดเจน!!

ข้อเสีย : ไวนิล ก็หนักเหมือนกันนะครับ.. ซึ่งเอาจริงๆแล้ว เคสมาตราฐานก็จุไวนิลได้อย่างมาก 75แผ่นเท่านั้น แล้วไหนเรายังต้องแบก Turntables อีก(ซึ่งเทิรน์แต่ละตัวก็ราคาแพงด้วย!!) ที่น่าเศร้าคือ เพลงใหม่ๆก็ไม่ได้ทำลงแผ่นไวนิลซะทุกเพลงด้วย!!

3. คอมพิวเตอร์ เต็มรูปแบบ!!

ข้อดี : คุณจะพกพาเพลงเป็นพันเป็นหมื่นได้ในคอมเครื่องเดียว ..แถมง่ายที่จะหาเพลงที่ต้องการมาใส่ไว้ในคอมด้วย ที่สำคัญคือคอมเรายังเอา CD มาใส่ได้ด้วย แถมใครจะผกเพลงมาให้เราเปิดด้วยก็ได้

ข้อเสีย : ถ้าเครื่องคอมดัน “ตก” หรือ “แฮงค์” เพลงทั้งหมดของคุณจะจบลง..จนกว่าคุณจะรีสตารท์คอมขึ้นมาใหม่!!

เคล็ดลับที่ 3 : ฝึก “อ่าน”และ “ดึง” คนดู

คุมคนดู.jpg

ศิลปะของการอ่านคนดูนั้น ต้องอาศัยความสามารถส่วนตัว และต้องพยายามศึกษาและพัฒนาอยู่ตลอด(ประสพการ์ณ) หัวใจหลักของมันก็คือ ถ้าคุณเล่นเพลงของคน “เจนเนอเรชั่นX” เหล่าคนดูเต็นกันมันส์สุดเหวี่ยง และทันใดนั้นคุณเปลี่ยนมาเปิดเพลงของ “เจเนอเรชั่น Y” ปรากฎว่าคนดูกลับหายไปหมด!! แสดงว่าถ้าจะจัดคนดูให้ได้ละก็ ต้องเปิดเพลง X ให้มากกว่า Y...เรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญนะครับ..เราต้องจับตาดูคนดูให้ดี...ดีเจส่วนใหญ่มักจะไม่ประสพความสำเร็จในการดึงคนดูเพราะ เขามักพลาดที่จะสังเกตว่าคนดูเริ่มหายไปเรื่อยๆ และถึงแม้เริ่มจะรู้ตัวแล้วว่าคนดูหายไป..ไม่รู้ด้วยว่าจะต้องเปิดเพลงแบบไหนเพื่อดึงพวกเขากลับมา!!

เคล็ดลับที่ 4 : จัดวาง “องค์ประกอบ” ของเซทดีเจไว้ด้วยนะ!!

จัดองค์ประกอบ.jpg

การเป็นดีเจนั้น ไม่จำเป็นต้องยืนนิ่งๆ เปิดเพลงไปเรื่อยๆ อย่างเดียว!! อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการ “พาคนดูไปสู่เส้นทางของความมันส์” ไม่ว่าจะพาพวกเขา “ขึ้นสูง” หรือ “ลงต่ำ” คนดูก็ทำตามคุณทั้งหมด เหมือนพวกเขาหลุดไปอยู่ในโลกแห่งเสียงเพลงที่คุณเป็นคนคุมมัน!! ...การจัดวางองค์ประกอบของเซทดีเจ นั้นคือศิลปะแห่งการเรียบเรียง โดยยึด “ความเร็วของตัวเพลง” “แนวเพลง” และ “คีย์เพลง” เป็นหลัก..เท่านั้นคุณก็จะสามารถ Flow คนดูและบรรยากาศได่ตั้งแต่ตนจนจบ

* กฎพื้นฐานของการจัดองค์ประกอบที่อยากแนะนำคือ Triangle Composition โดยหลักการง่ายๆคือ เปิดเพลงแนวเดียวกัน 3เพลง และเปิดตามด้วยอีกสามเพลงที่แนวต่างกัน

เคล็ดลับที่ 5 : เปิดโอกาสให้ “ขอเพลง” ได้!!

ขอเพลงหน่อย.jpg

การให้คนดูได้ขอเพลงนั้นถือว่าเป็นเรื่องดีที่ให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในโชว์ของเรา แต่ถึงกระนั้นเราควรจะยึดกฏปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้หน่อยคือ..

1.ห้ามเปิดเพลงซ้ำ : ขอบอกว่าไม่ใช่ไอเดียที่ดีเลยล่ะ ที่จะเล่นเพลงเดียวกันสองรอบในโชว์ของเรา ถึงแม้ตอนหลังคนดูจะเยอะกว่าตอนแรกๆ ก็ไม่ควรทำ

2.ไม่จำเป็นต้องเล่นทุกเพลงถูกขอ : หากเราเปิดเพลงถูกขอแล้ว..จากคนเต้นๆกันอยู่กลับทำให้บรรยากาศเงียบกริบ!!..จังหวะนั้นคุณคงโทษไปที่คนรีเควส์ทเพลงไม่ได้หรอก..ต้องโทษตัวคุณเองตั้งหากล่ะที่เป็นคนเปิดเพลงนั้น แต่ยังก็ตามพยายามเปิดเพลงที่คนขอมาแค่เท่าที่จะทำได้ละกันนะครับ และยิ่งถ้าคุณสามารถทำให้ทุกๆคนเต้นไปพร้อมกันได้ และสนุกไปกับเพลงคุณ..เท่านี้พวกเขาก็จะจดจำเราในถ้านะ “ดีเจที่เก่ง” ถึงแม้เพลงที่พวกเขาขอจะไม่ถูกเปิดก็ตาม!!

Credit-to-Wikihow.com

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page