คุณรู้จักดนตรีแนว Downtempo และ Chillout Music ดีพอรึยัง?
วันนี้เรามาทำความรู้จักกับดนตรีแนว Chillout Music หรือ Downtempoกันครับ ที่สำคัญคือใครรู้บ้างเอ่ยว่าสำหรับคำว่า "Chillout นั้นเดิมทีเป็นคำที่อธิบายถึง ห้องหรือพื้นที่หนึ่งในคลับ ที่เอาไว้นั่งพักหู(จากจังหวะตื้ดจนชาหู)!! และสำหรับตอนนี้ Chillout ยังสื่อถึง ประเภทของแนวดนตรี โดยเฉพาะจังหวะที่เรียกว่า “Downtempo Electronica”
จุดเริ่มต้นของ
การแบ่งแยกระหว่าง “โซนเต้น” กับ “โซนชิลล์” นั้นเริ่มปรากฏขึ้นตามคลับต่างๆที่ปรับเปลี่ยนเทรนด์ดนตรีเต้นรำซึ่งโดยเฉพาะยุค 90 ที่เพลง Electronic Dance Music(EDM) เริ่มต้นเข้ามา ซึ่งไล่มาตั้งแต่ Rave ไปจนถึงยุค Acid House สำหรับประเทศอังกฤษเองในช่วงเริ่มต้นนั้น “ห้องชิลล์” ถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติที่ทุกคลับใน Manchesterต้องมี และในปลายปี1992 ในแต่ละคลับจะถูกเข้มงวดให้มีการจัดเตรียม ห้อง(เงียบ)ที่นั่งพักและน้ำดื่มฟรีไว้บริการให้กับนักเที่ยวทั้งหลาย(ซึ่งถ้าคลับไหนไม่ทำตามมีสิทธิถูกปิด) ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นแนวอื่นๆ อย่าง House Music ก็ถูกแตกแขนงออกไปมากเช่นกัน โดยโปรดิวเซอร์บางคน นำเอาจังหวะเฮาส์มา สไลวดาวน์และใช้ Synths และ Samplers มาสร้างเสียงเมโลดี้ด้วย..ซึ่งถ้าจะคุ้นหูกันหน่อยก็ต้อง “The KLF”(กลุ่ม EDM จากอังกฤษ) นำเพลง 3am Eternal มาทำใหม่ โดยสามารถนำเพลงติดชาร์จอันดับหนึ่งใน UK Billboard 1991
และอีกตัวอย่างหนึ่งคือ Little Fluffy Clouds ของวง The Orb(1990) ทั้งสองเป็นตัวอย่างที่ดีของการผสม Chillout และTrance โดยเฉพาะวง The Orb ในช่วง 1992-1993 ก็ทำเพลงแนว ชิลล์ออกมาเยอะพอควร ที่เด่นอยู่เพลงหนึ่งคือ “Blue Room” หลังจากนั้นไม่นานก็มี โปรดิวเซอร์คนอื่นๆนำไอเดียนี้ไป โดยเอาไปบวกเข้ากับ “Drop” และเน้นออกไปทาง Minimal ที่ฉาบไปด้วยดนตรี Electronic..จะว่าไป ดนตรีแนวนี้เปรียบเสมือน โมเดรินเวอร์ชั่นของดนตรีแนวAmbient..ดนตรีที่เน้นเสียงมากกว่าโน๊ต..เสียงธรรมชาติ..เสียงบรรยากาศ หรือการนำแนว Minimal มาผสมลงในเสียง Background ต่างๆ (ทำกันมาตั้งแต่ 1970)
ประวัติของ Downtempo
หลังจากนั้นเริ่มมีคนแตกแนว ออกมามากขึ้นโดยในปี 1994 เกิดแนวใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า “Trip-Hop” ซึ่งเป็นการรวมของจังหวะ “ Slowed Down Breakbeats” กับ “Hip Hop” แต่จะไม่นำท่อนแร๊พมาใส่
“Trip-Hop” นั้นจะเต็มไปด้วยจังหวะ “ดรัมแอนด์เบส” บวก “Ambient”(ที่กล่าวมาก่อนหน้า) และพ่วงท้ายด้วยจังหวะ “Jungle” จิงๆแล้วแนว Trip Hopนี่ค่อนข้างจะ Britishจ๋าๆ หน่อยนะครับ ถ้าใครนึกถึงแนวนี้ไม่ออกก็ลองไปฟังเพลงของ Portishead ดู หรือของ Tricky และ Massive Attack และจะเข้าใจถึงอิทธิพลอังกฤษอย่างที่ผ่านมา หรือกระทั่ง Leftfield เองที่ยึดแนวของตัวเองมาตลอด ก็ยังเอาแนวนี่มาใส่ลงในอัลบั้ม Leftism(1995)ของวง
Trip-Hopเองมันก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกสบายๆผ่อนคลายแบบ Ambientเสียเท่าไหร่ แถมยังเต็มไปด้วยอารมกับความดาร์ก แต่สิ่งหนึ่งสิ่งที่คล้ายกันของทั้งสองแนวนี้คือ จังหวะช้าๆ หรือที่เรียกกันว่า Slowed-Down Tempo
ต่อมาในปี 1995 แนว Trip-Hop ถูกนำมาผสมกับ Dark Hip-Hop ในเพลง Clubbed To Death ของ Rob Dougan ซึ่งมาดังในอีก 4ปีต่อมา เพราะเพลงนี้ถูกไปใช้ประกอบภาพยนต์ The Matrix โดยเพลงถูกจัดให้อยู่ในเพลง Chillout เทพสำหรับเพลงก่อนยุค2k เคียงคู่กับเพลง Cafe Del Mar ….
ประวัติของChillout Music
ในยุคหลังนี้ หลายๆค่ายเพลงต่างล้วนมองหา “สิ่งใหญ่ๆ” เพื่อทำกำไรสู่ตลาดและมีหลายกลุ่มที่พยายามนำแนว “Chillout” นี้มาใช้..โดยในปี2001 จะเป็นการผสม Ambient และ DownTempo ใส่ไลน์ Instrumental Electronica และที่ขาดไม่ได้คือ Trip-Hop ส่ิงที่ได้มาเป็นอะไรที่ “ชิลล์”มากๆ แค่หลับตาฟังก็จะนึกถึง ภาพชายหาด พระอาทิตย์ตกดิน..แถมอัลบัมหรือ Coverต่างๆก็จะเน้นภาพแนวนี้
อย่างไรก็ตามดนตรีแนวนี้เป็นอะไรที่ไม่เหมือนกับ Trance หรือ EDMแนวอื่น คือมันเป็นเพลง “ยากที่จะเต้น” เพราะจุดมุ่งหมายของเพลงคือการ “เบรค” การ “ฟังสบาย” เสียมากกว่า
ยุคปัจจุบันของจังหวะ Chillout หรือ Downtempo นั้นก็มีหลากหลายมากขึ้น(ตามยุคสมัย มาไวไปไว) แนวเพลงเหล่านี้ มักจะโยงถึง “ ดาว์นเทมโปแบบร่วมสมัย” ลองดูในวงดังอย่าง Coldplay เองซึ่งถูกนำเพลง Trouble ไปใส่ในอัลบั้ม Ministry of Sound Chilled II(2009) ตามมาด้วย Daft Punk กับแนวชิลล์ที่ใส่ House Funk ลงไปอย่างเพลง Digital Love… ในทศวรรตหลังๆนี้ แนวเพลงEDM ต้นตำรับอย่าง Trip-Hop หรือ Trance เองก็ ถูกเอามาโป๊ะหน้าด้วย ส่วนประกอบของโมเดรินป๊อป เช่นเสียง Synthesizer จังหวะกลองช้า หรือ เสียงซาวน์เอฟเฟคของกีต้าร์อคูสติก และดนตรีเครื่องสายเก๋ๆ ยิ่งปี 2013-2014 ที่ผ่านมา Underground Chillout ได้เดินมาในทิศทางใหม่ๆ โดยได้อิทธิพลจาก Lounge และ Jazz กลายมาเป็นแนวหล่อๆเบาๆอย่างปัจจุบัน!!